CAT ร่วมสนับสนุน Asia IoT Business Platform เผยแผนขยายโครงข่ายโทรคมนาคม เตรียมเปิดใช้งานเคเบิลใต้น้ำเส้นใหม่ พร้อมเชื่อมโยงทุกการติดต่อสื่อสาร

03.06.2016

       

 

     บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) หรือ CAT ผู้ให้บริการโทรคมนาคมรายใหญ่ของประเทศ ร่วมสนับสนุนการจัดงาน Asia IoT Business Platform (AIBP) ครั้งที่ 8 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 26 - 27 พฤษภาคม 2559 ณ โรงแรม อมารี วอเตอร์เกท กรุงเทพมหานคร ซึ่งถือเป็นมหกรรมการจัดแสดงเทคโนโลยีในระดับนานาชาติครั้งสำคัญ เพื่อตอกย้ำการรับรู้และการใช้เทคโนโลยี Internet of Things ( IoT) ในภูมิภาคเอเชีย โดยจัดขึ้นอย่างต่อเนื่องในประเทศไทยเป็นปีที่ 2 หลังจากประสบความสำเร็จอย่างท่วมท้นเมื่อปีที่ผ่านมา

      ดร.ดนันท์ สุภัทรพันธุ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานผลิตภัณฑ์ของ CAT เปิดเผยถึงแผนขยายโครงข่ายโทรคมนาคมว่า “ทุกวันนี้ คงปฏิเสธไม่ได้ว่า การเชื่อมโยงเครือข่ายอินเทอร์เน็ต มีความสำคัญอย่างยิ่ง CAT จึงได้พัฒนาระบบโครงข่ายสื่อสารโทรคมนาคมอย่างไม่หยุดยั้ง รวมถึงการเปิดเส้นทางเชื่อมต่อไปยังภูมิภาคต่างๆ ทั่วโลกผ่านระบบเคเบิลใยแก้วนำแสงใต้น้ำ (Submarine Cable) ในหลากหลายเส้นทาง และในปีนี้ CAT มีแผนการเปิดใช้งานเส้นทางใหม่ ได้แก่ APG (Asia Pacific Gateway) ซึ่ง CAT ร่วมลงทุนกว่า 2,000 ล้านบาทโดยจะเป็นระบบเคเบิลใยแก้วนำแสงใต้น้ำ ที่เชื่อมโยงโดยตรงจากประเทศไทย ไปยัง มาเลเซีย, สิงคโปร์, เวียดนาม, ฮ่องกง, จีน, เกาหลี และญี่ปุ่น ทำให้ CAT Internet Gateway เป็นผู้ให้บริการรายเดียวในประเทศไทยที่ใช้งานระบบเคเบิลใยแก้วนำแสงใต้น้ำโดยตรงจากประเทศไทยไปยัง Content Provider ที่มีความนิยมในต่างประเทศโดยตรง อาทิ Google, Facebook, Microsoft, Line, Akamai, Amazon โดยระบบเคเบิลใยแก้วนำแสงใต้น้ำ นับเป็นเทคโนโลยี โครงข่ายสื่อสารโทรคมนาคมที่ดีที่สุดและมีเสถียรภาพมากที่สุด ซึ่งปัจจุบัน CAT Internet Gateway มีจำนวนและขนาดแบนด์วิธในการเชื่อมต่อไปยังผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตทั่วโลก มากที่สุดในประเทศไทย เทียบเท่าผู้ให้บริการชั้นนำของภูมิภาค โดยมีการเชื่อมต่อไปยัง สิงคโปร์ ฮ่องกง สหรัฐอเมริกา อังกฤษ เนเธอร์แลนด์ เยอรมัน ฝรั่งเศส และประเทศในภูมิภาคต่างๆ ทั่วโลก รวมถึงมีแผนขยายวงจรเชื่อมต่อขนาด 100 กิกะบิตต่อวินาทีไปยังภูมิภาคต่างๆ ซึ่งจะทำให้มีแบนด์วิธรวมกว่า 500 กิกะบิตต่อวินาที ทำให้ผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ต ผ่าน CAT Internet Gateway สามารถเข้าถึง Content ต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว และปีนี้เราได้ทุ่มงบพัฒนาระบบและอุปกรณ์อีกกว่า 200 ล้านบาท เพื่อเพิ่มศักยภาพโครงข่ายให้รองรับการขยายตัวของระบบเศรษฐกิจดิจิทัล และการเปิดประชาคมอาเซียน (AEC) ให้สามารถใช้งานเครือข่ายได้ถึงระดับเทราบิตต่อวินาที


      นอกจากนี้ CAT ยังให้บริการกับโครงข่ายมหาวิทยาลัย หรือ UNINET โดยมีการเชื่อมต่อเครือข่ายของมหาวิทยาลัยต่างๆ ผ่านวงจรส่วนบุคคลความเร็วสูง ไปยัง Internet Gateway ทำให้มีประสิทธิภาพสูงสุดในการใช้งานส่งผ่านข้อมูลในโครงข่าย อีกทั้งการให้บริการกับหน่วยงานภาครัฐขนาดใหญ่อีกหลากหลายหน่วยงานเพื่อพัฒนาองค์กรและการให้บริการกับภาคประชาชน รวมถึงผู้ให้บริการไอเอสพีชั้นนำ อาทิ ทรู, ทีโอที, 3BB, AWN ได้ให้ความไว้วางใจเชื่อมต่อผ่าน CAT Internet Gateway โดยปีนี้ตั้งเป้ารายได้ CAT Internet Gateway ไว้กว่า 1,700 ล้านบาท ซึ่งเป็นรายได้จากการขายและการใช้งานสำหรับธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง อาทิ การให้บริการอินเทอร์เน็ต บรอดแบนด์ หรือ C internet, อินเทอร์เน็ตสำหรับองค์กร, CAT Data Center และ การใช้อินเทอร์เน็ตผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ my by CAT”
โดยภายในงาน Asia IoT Business Platform (AIBP) ครั้งที่ 8 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 26 - 27 พฤษภาคม 2559 นี้ ณ โรงแรมอมารี วอเตอร์เกท กรุงเทพฯ CAT จะร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการนำเสนอเทคโนโลยีด้านการสื่อสารโทรคมนาคม เพื่อแสดงถึงศักยภาพและความพร้อมของ CAT ในการเป็นผู้ให้บริการด้านโครงข่ายสื่อสารโทรคมนาคม ที่สามารถรองรับการใช้งาน IoT ได้อย่างสมบูรณ์

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อสร้างประสบการณ์นำเสนอคอนเทนต์ที่ดีให้กับท่าน รวมถึงเพื่อจัดการข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์ที่ดีบนบริการของเว็บไซต์เรา หากท่านใช้บริการเว็บไซต์นี้ต่อไปโดยไม่มีการปรับตั้งค่าใดๆ นั่นเป็นการแสดงว่าท่านอนุญาตยินยอมที่จะรับคุกกี้บนเว็บไซต์และนโยบายสิทธิส่วนบุคคลของเรา