CAT datacom News & promotion

ศูนย์รวมข้อมูลข่าวสารและกิจกรรมต่างๆ เกี่ยวกับ CAT datacom

5 เทรนด์เทคโนโลยีการติดต่อสื่อสารที่จำเป็นในภาคอุตสาหกรรม หลังยุค COVID-19

20.10.2020

ผ่านพ้นวิกฤตโควิด-19 ในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2563 กันไปแล้ว หลายธุรกิจในภาคอุตสาหกรรมต่าง ๆ ต้องหยุดชะงักไปบ้าง แม้เป็นเพียงระยะเวลาสั้น ๆ แต่ก็มีผลกระทบมากมายต่อทุกธุรกิจและเศรษฐกิจไปทั่วโลก วันนี้เข้าสู่ยุค Next Normal ทุกองค์กรต้องปรับตัวเพื่อความอยู่รอดและรันธุรกิจต่อเนื่องกันต่อไป โดยทุกองค์กรจะต้องไม่ประมาท ยังต้องตระหนักถึงความปลอดภัยของพนักงานทุกระดับและความปลอดภัยของระบบเครือข่ายข้อมูลในองค์กรไปพร้อม ๆ กัน จึงจำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีการติดต่อสื่อสารที่มีประสิทธิภาพดี มีการป้องกันภัยคุกคามไซเบอร์อย่างแข็งแกร่ง รวมทั้งบริหารจัดการได้ง่าย เพื่อให้พนักงานสามารถทำงานได้ในทุกสถานที่ที่ไม่ได้จำกัดแค่ในออฟฟิศอีกต่อไป

 

ทุกองค์กรยังคงดำเนินธุรกิจหรือทำงานได้อย่างต่อเนื่องหลังปรับตัวสู่วิถีชีวิตในสไตล์ Next Normal  เราจะเห็นแนวโน้มว่าหลายองค์กรมีการจัดสรรหรือปรับแผนใช้งบประมาณ เพื่อนำเทคโนโลยีการติดต่อสื่อสารสมัยใหม่มาช่วยขับเคลื่อนธุรกิจ และเทคโนโลยีดังต่อไปนี้ เป็นเทรนด์มาแรง ที่องค์กรชั้นนำต่างก็เลือกใช้บริการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน

 

 

SD-WAN (Software-Defined Wide Area Network) เป็นบริการเชื่อมโยงการสื่อสารข้อมูลระหว่างสำนักงานหรือสาขาที่อยู่ห่างไกลกัน รวมถึงการเชื่อมต่อไปหาผู้ให้บริการ Cloud หรือ Data Center โดยเน้นถึงเสถียรภาพและประสิทธิภาพที่วางใจได้ เพื่อให้การดำเนินธุรกิจเป็นไปอย่างไร้รอยต่อ SD-WAN สามารถรองรับการเชื่อมต่อได้หลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น MPLS, Internet และ Cellular Network สามารถบริหารจัดการระบบ และเฝ้าระวังเหตุเสียได้จากศูนย์กลาง (Centralized Management) พร้อมทั้งกำหนดการตั้งค่า Traffic , Policy และ QoS ได้อย่างเหมาะสมในทุกการเชื่อมต่อระดับ Application โดยเทรนด์ของ SD-WAN ในปัจจุบันและอนาคต มีการพัฒนาให้ผสานการทำงานร่วมกับ AI เพื่อให้ระบบสามารถตัดสินใจหรือทำงานแบบอัตโนมัติมากขึ้น สะดวกสบายกว่าในการติดตั้งระบบครั้งแรกหรือซ่อมบำรุงเปลี่ยนอุปกรณ์ (Zero Touch Provisioning) , หาเส้นทางที่ดีที่สุดในการส่งข้อมูลไปยังปลายทาง , วิเคราะห์ปริมาณ Bandwidth การใช้งานหรือแนวโน้มการใช้งานในอนาคต  และช่วยลดความผิดพลาดและลดภาระงานของผู้ดูแลระบบเครือข่าย

ยกตัวอย่าง ให้เห็นภาพการทำงานของ SD-WAN เช่น ธุรกิจยานยนต์ที่มีหลายสาขา เมื่อนำเทคโนโลยี SD-WAN มาช่วยจัดการระบบเครือข่ายขององค์กร ก็สามารถกำหนดนโยบายจากส่วนกลางได้ โดยเฉพาะด้านความปลอดภัยของเครือข่าย เช่น เลือกส่งข้อมูลที่สำคัญขององค์กร อย่างโมเดลรถรุ่นใหม่ที่ต้องปิดเป็นความลับ ผ่าน Private Network เท่านั้น ส่วนข้อมูลพื้นฐานต่างๆ ที่ไม่ได้เป็นความลับ ก็เลือกส่งผ่าน Internet เป็นต้น หรือหากเกิดปัญหาของระบบการสื่อสารในขณะที่กำลังประชุม VDO Conference อยู่นั้น เช่น ขัดข้อง สะดุด หรือภาพแตก SD-WAN ก็จะช่วยจัดการสลับช่องทางการสื่อสารของ WAN ต่างๆ ได้อย่างเหมาะสมแบบ Real Time โดยอัตโนมัติ เพื่อให้การประชุมไม่สะดุด นอกจากนั้นยังประหยัดค่าใช้จ่าย และช่วยลดภาระงานของเจ้าหน้าที่ IT เป็นต้น

 

 

Direct Cloud Connect บริการวงจรสื่อสารข้อมูลความเร็วสูงสำหรับเชื่อมต่อระหว่างลูกค้าองค์กรและผู้ให้บริการ Cloud ระดับโลก เพื่อการรับส่งข้อมูลที่สะดวก รวดเร็ว และปลอดภัยยิ่งขึ้น ในอดีต องค์กรต่าง ๆ ทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชนต่างเก็บข้อมูลภายในองค์กรบน Server เฉพาะใช้ภายในบริษัท แม้จะมีความปลอดภัยสูงด้วยการจำกัดการเข้าถึงข้อมูลจากภายนอกแต่กลับมีต้นทุนการติดตั้งและดูและระบบสูง ทั้งยังชะลอความเร็วในการดำเนินงานเมื่อพนักงานต้องเข้าถึงข้อมูลจากนอกสถานที่ ส่งผลต่อความคล่องตัวในการทำธุรกิจ ปัจจุบันนี้องค์กรต่าง ๆ เริ่มเห็นโอกาสทางธุรกิจจากความรวดเร็วในการเข้าถึงข้อมูล จึงเลือกเก็บข้อมูลไว้ที่ Cloud ระดับโลกอย่าง Amazon (AWS), Microsoft Azure หรือผู้ให้บริการ Cloud รายอื่น ๆ ซึ่งทำให้ข้อมูลเหล่านั้นสามารถเข้าถึงได้จากอินเทอร์เน็ตทั่วไป จึงมีต้นทุนการดูแลรักษาต่ำกว่า ทั้งยังมีความยืดหยุ่นในการดูแลและขยับขยายระบบตามปริมาณการใช้งาน กระนั้นการเชื่อมต่อผ่านระบบอินเทอร์เน็ตยังมีความเสี่ยงจากความเร็วและความเสถียรในการเข้าถึงข้อมูลที่อาจลดลงเนื่องจากใช้เส้นทางการเชื่อมต่อร่วมกับบริการอินเทอร์เน็ตอื่น ๆ และการโจมตีทางไซเบอร์จากผู้ไม่หวังดี บริการ Direct Cloud Connect ซึ่งเชื่อมต่อองค์กรถึง Cloud ด้วย Private Network จึงเป็นคำตอบ ให้ความสะดวกรวดเร็ว ปลอดภัย ในราคาที่จับต้องได้ และรับประกันคุณภาพโครงข่ายตลอดเส้นทาง สร้างความมั่นใจให้ธุรกิจของลูกค้าองค์กรดำเนินธุรกิจได้อย่างราบรื่น

 

 

Corporate Internet องค์กรทุกระดับ ย่อมต้องการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงที่มีเสถียรภาพดี ไว้วางใจได้ เพราะทุกครั้งที่เกิดเหตุอินเทอร์เน็ตขององค์กรล่ม แม้ถูกตัดขาดการเชื่อมต่อเพียงระยะสั้น ก็อาจกระทบต่อธุรกิจอย่างมหาศาล ดังนั้นการเลือกใช้ Corporate Internet ที่เป็นการเชื่อมต่อแบบส่วนตัวผ่านโครงข่ายเส้นใยแก้วนำแสงไปยังผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต ผ่าน Internet Gateway ใหญ่ที่สุดของประเทศ ไปถึง Internet Gateway หลักของภูมิภาคอื่นทั่วโลกผ่านเคเบิลใต้น้ำหลากหลายเส้นทาง ทำให้องค์กรมั่นใจได้ในเสถียรภาพและความเร็วสูงเพียงพอ เชื่อมต่อเต็มประสิทธิภาพ ไม่ต้องแชร์ Bandwidth กับองค์กรอื่น มีความปลอดภัยและคุ้มค่ากับค่าใช้จ่าย ซึ่งปัจจุบันผู้ให้บริการ Corporate Internet ก็มีแพกเกจให้เลือกหลายระดับราคาตามปริมาณ Bandwidth

 

 

Cybersecurity เป็นสิ่งที่หลายองค์กรให้ความสำคัญและตระหนักเป็นอย่างยิ่ง จากกรณีข่าวดัง เครือข่ายคอมพิวเตอร์ภายในโรงพยาบาลถูกโจมตีด้วย Ransomware เรียกค่าไถ่ข้อมูล ทำให้ไม่สามารถให้บริการทางการแพทย์ได้ เพราะไม่สามารถเข้าถึงฐานข้อมูลของผู้ป่วยและคลังเวชภัณฑ์ ดังนั้นในเรื่องเทคโนโลยีการติดต่อสื่อสารและเครือข่าย มีความสำคัญทั้งเรื่องความเร็วของการโอนถ่ายข้อมูล เสถียรภาพในการเชื่อมต่อ และความปลอดภัยทางไซเบอร์ เครือข่ายภายในองค์กรจะต้องมีระบบป้องกันการคุกคามและการโจมตีจากสารพัด Virus, Ransomware, Malware และ Hacker ซึ่งปัจจุบันก็มีผู้ให้บริการหลายรายเสนอ Solution สำหรับเสริมความปลอดภัยให้กับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั้งภายในองค์กรและการเชื่อมต่อระหว่างองค์กรกับ Cloud หรือ Data Center ภายนอก พร้อมให้คำปรึกษาสำหรับองค์กรทุกระดับเพื่อติดตั้ง Firewall และ Endpoint Protection ป้องกันทุกช่องทางอย่างเข้มงวด รวมทั้งสามารถทำประกันความเสี่ยงภัยไซเบอร์ (Cyber Insurance) ได้อีกด้วย

 

 

5G | 4G LTE และ WiFi-6 ในยุคนี้ หลายองค์กรเปิดโอกาสให้พนักงานทำงานนอกสถานที่กันมากขึ้น เข้าออฟฟิศตามความจำเป็น ปรับเปลี่ยนการประชุมเป็นรูปแบบ Video Conference พนักงานบางคนสวมใส่ Headset เปิดโน้ตบุ๊กนั่งประชุมที่บ้านผ่านอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงระดับ Gigabit หรือที่ร้านกาแฟผ่าน Public Wi-Fi Hotspot ความเร็วสูงที่รองรับ WiFi-6  บางคนอาจจะเดินทางอยู่บนรถก็ Join Meeting ผ่านแอปพลิเคชันบน Smartphone ที่รองรับ 5G ได้บน Platform เดียวกันทั้งองค์กร ซึ่งด้วยเทคโนโลยี 5G ที่มีสัญญาณครอบคลุมภายในแหล่งช้อปปิงยอดนิยมและตัวเมือง ทำให้ประชุมแบบ Video Conference ที่เห็นภาพคมชัดระดับ HD ไม่มีกระตุกพร้อมเสียงที่ชัดใสแบบ Clear Voice  ยิ่งปัจจุบันผู้ให้บริการโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่บางราย สามารถสลับเครือข่ายแบบโรมมิ่งอัตโนมัติทันทีที่พบสัญญาณ 5G / 4G LTE จาก Cell Site อื่นที่สัญญาณแรงกว่าหรือมีช่องสัญญาณว่างมากกว่า ทำให้การติดต่อสื่อสารผ่าน Video Call หรือ Voice Call ราบรื่นและไม่สะดุด นอกจากนี้เทคโนโลยี 5G ยังนำมาใช้กับการเชื่อมต่ออุปกรณ์ IoT อย่างเช่น กล้องวิดีโอรักษาความปลอดภัยหรือโดรนติดกล้อง ที่ต้องสั่งงานจากระยะไกล ในธุรกิจ Logistics ที่มีการติดตามตำแหน่งของรถขนส่ง ก็จำเป็นต้องใช้ 5G | 4G LTE ส่งพิกัดแบบเรียลไทม์ รวมทั้งในทางการแพทย์ ระหว่างที่นำส่งผู้ป่วยจากเหตุฉุกเฉินบนรถพยาบาลหรือเฮลิคอปเตอร์ แพทย์ก็สามารถให้คำแนะนำในการปฐมพยาบาลหรือกู้ชีพผ่าน Video Call บนเครือข่าย 5G | 4G LTE ได้อย่างทันท่วงที

 

ทั้ง 5 เทรนด์เทคโนโลยีการติดต่อสื่อสารเหล่านี้ ล้วนมีความสำคัญในการขับเคลื่อนธุรกิจทุกอุตสาหกรรม หลังการปรับตัวสู่วิถีชีวิตรูปแบบใหม่ที่ทำงานได้ต่อเนื่องอย่างปลอดภัยจากโรคระบาดและภัยไซเบอร์ ซึ่งการเลือกใช้เทคโนโลยีการติดต่อสื่อสารให้ตอบโจทย์ธุรกิจและได้ผลลัพธ์ที่คุ้มค่าต่อการลงทุน ก็ต้องเลือกผู้ให้บริการที่มีความเชี่ยวชาญครบวงจรอย่าง CAT Telecom ก็ถือว่าเป็นผู้ให้บริการรายใหญ่ที่มี Solution ตอบโจทย์ลูกค้าองค์กรทุกระดับ  CAT มีโครงข่ายสื่อสารข้อมูลที่ครอบคลุม มี Internet Gateway รองรับ Bandwidth มหาศาลที่เชื่อมต่อกับต่างประเทศ มีเส้นทางเชื่อมต่อสำรองหลาย Connection มีบริการ Ultimate Connection ที่มีจุดเด่นคือสามารถสลับไปใช้โครงข่ายของ TOT โดยอัตโนมัติเมื่อพบปัญหาบนโครงข่าย CAT  อีกทั้งยังมีบริการ SD-WAN ที่เน้นเชื่อมต่อ Cloud โดยตรงกับทุก Branch Office ได้ทั้งความรวดเร็วและปลอดภัย สร้างความได้เปรียบเหนือคู่แข่งในธุรกิจทุกอุตสาหกรรม

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อสร้างประสบการณ์นำเสนอคอนเทนต์ที่ดีให้กับท่าน รวมถึงเพื่อจัดการข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์ที่ดีบนบริการของเว็บไซต์เรา หากท่านใช้บริการเว็บไซต์นี้ต่อไปโดยไม่มีการปรับตั้งค่าใดๆ นั่นเป็นการแสดงว่าท่านอนุญาตยินยอมที่จะรับคุกกี้บนเว็บไซต์และนโยบายสิทธิส่วนบุคคลของเรา